วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2561

โรงไฟฟ้าแม่เมาะ ชี้แจง เหตุสารเคมีรั่วไหลไม่ใช่ “ไซยาไนด์”

โรงไฟฟ้าแม่เมาะ ชี้แจง เหตุสารเคมีรั่วไหลไม่ใช่ “ไซยาไนด์”
โรงไฟฟ้าแม่เมาะ ชี้แจง เหตุสารเคมีรั่วไหลไม่ใช่ “ไซยาไนด์”
การไฟฟ้าแม่เมาะแจงเหตุสารเคมีรั่วไหล คือ กรดไฮโดรคลอริก  เมื่อถูกน้ำจะเกิดเป็นไอมีกลิ่นฉุน ตามมาตรการด้านความปลอดภัย จึงให้พนักงานที่ปฏิบัติงานออกไปอยู่ในที่ปลอดภัย
นายศานิต นิยมาคม ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์การ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ชี้แจงถึงกรณีที่ช่วงเช้าวันที่ 6 พฤษภาคม มีกระแสข่าวว่า เกิดเหตุสารไซยาไนด์รั่วภายในบริเวณสถานที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้าแม่เมาะทดแทน เครื่องที่ 4-7 และมีการอพยพคนงานออกจากพื้นที่ดังกล่าว โดยกฟผ. ขอเรียนชี้แจงข้อเท็จจริงว่า สารเคมีดังกล่าวไม่ใช่สารไซยาไนด์
ทั้งนี้ ภายหลังเกิดเหตุสารเคมีที่ใช้ปรับสภาพน้ำที่ใช้ในกระบวนการผลิตไฟฟ้ามีการรั่วซึม ได้ดำเนินการตามมาตรการความปลอดภัยเร่งด่วนจนสถานการณ์คลี่คลายกลับเข้าสู่สภาวะปกติเรียบร้อย เจ้าหน้าที่และคนงานกลับเข้าไปปฏิบัติงานได้ตามปกติ พร้อมยืนยันว่าไม่มีผู้ได้รับอันตรายจากเหตุการณ์ดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม โครงการพัฒนาโรงไฟฟ้าทดแทนโรงไฟฟ้าแม่เมาะ เครื่องที่ 4-7 (MMRP1) พบเหตุ “กรดไฮโดรคลอริค (HCL) หรือ กรดเกลือ” รั่วไหลในปริมาณเล็กน้อยระหว่างการทดสอบระบบ จึงได้ให้คนงานที่อยู่ในรัศมี 10 เมตร ออกไปอยู่ที่จุดรวมพล เพื่อความปลอดภัย และเป็นการปฏิบัติตามมาตรการรักษาความปลอดภัย ระดับที่ 1
กรดไฮโดรคลอริค (HCL) หรือ กรดเกลือ เป็นสารเคมีที่มีไว้ใช้สำหรับปรับสภาพน้ำที่ใช้ในโรงไฟฟ้า เพื่อให้ได้น้ำที่มีคุณภาพก่อนน้ำไปใช้ในระบบ

หนุ่มคลั่งบุกสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล ทุบห้องสารเคมีพัง หวิดดับเอง

หนุ่มคลุ้มคลั่ง บุกเข้าไปในสถาบันวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ทุบกระจกห้องบุกเข้าไปทำลายอุปกรณ์เครื่องมือราคาแพงเสียหาย ต้องเกลี้ยกล่อมนำตังส่งโรงพยาบาล
เมื่อเวลา 07.30 น. (31 มี.ค. 61) เจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรแสนสุข ได้รับแจ้งจาก รปภ.ว่า มีคนคลุ้มคลั่งบุกเข้ามาภายในสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา บางแสน จังหวัดชลบุรี และทุบกระจกแตกหลายจุด เจ้าหน้าที่จึงรีบไปตรวจสอบพร้อมกับ รปภ. พบชายอายุประมาณ 25 ปี อยู่ในอาการคล้ายคนเมายา โดยเจ้าหน้าที่ รปภ.พยายามเข้าไปใกล้ หนุ่มคนดังกล่าวก็มีอาการตื่นตกใจและวิ่งหนีเข้าไปภายในห้องจุลชีวะ ซึ่งเป็นห้องสารเคมีและห้องเก็บตัวอย่างสัตว์ทะเลและพืชชนิดต่างๆ รวมถึงมีอุปกรณ์ต่างๆเครื่องตรวจสภาพน้ำและอื่นๆ ซึ่งบางอย่างมีราคาแพงเพราะต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศ
โดยชายคนดังกล่าวทุบกระจกและเข้าไปภายในห้องและทุบทำลายข้าวของทุกอย่างจนพังเละ ส่วนชายคนดังกล่าวก็ได้รับบาดเจ็บถูกกระจกบาดที่มือจนเลือดไหลนองเต็มห้อง เจ้าหน้าที่พยายามจะเข้าไปควบคุมตัวแต่เข้าไปไม่ได้เนื่องจากห้องดังกล่าวเป็นห้องเก็บสารเคมีซึ่งมีกลิ่นแรงมากไม่สามารถเข้าไปได้ แต่ชายคนดังกล่าวนอนนิ่งอยู่ข้างในห้องเกรงจะเสียชีวิตเพราะสารเคมี รปภ.จึงจะพยายามเข้าไปช่วย
จนกระทั่งชายคนดังกล่าวพยายามเดินออกมาและนอนอยู่หน้าห้อง หัวหน้า รปภ.จึงพยายามเข้าไปเกลี้ยกลอมจนกระทั่งชายคนดังกล่าวยอมออกมาจากห้อง มีอาการพูดจาไม่รู้เรื่อง มีบาดแผลที่แขนและมือ จากการสอบถามทราบว่าชื่อนาย พิทักษ์ อายุ 26 ปี เป็นคนจังหวัดหนองบัวลำภู มาทำงานก่อสร้าง รปภ.จึงรีบนำตัวส่ง โรงพยาบาล มหาวิทยาลัยบูรพา ก่อนอายัดตัวสอบสวนดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป 

ไอเดียแต่งบ้าน 12 สารเคมีในบ้านที่เราควรหลีกเลี่ยง

ไอเดียแต่งบ้าน 12 สารเคมีในบ้าน
ที่เราควรหลีกเลี่ยง

ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่เราใช้อยู่ในครัวเรือนนั้น มีส่วนผสมของสารเคมี ซึ่งก่อให้เกิดผลร้ายต่อสุขภาพ ขัดขวางการทำงานของต่อมไร้ท่อ และฮอร์โมนในร่างกาย องค์การอนามัยโลกบอกว่า สารเคมีเหล่านี้ ก่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้คน ส่งผลต่อการเจริญพันธุ์ และยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับโรคเรื้อรังต่าง ๆ ที่เกิดกับคนในโลก
Thomas Zoeller ผู้เชี่ยวชาญด้านชีววิทยาจากมหาวิทยาลัยแห่งแมซซาชูเสท บอกว่า แม้เราจะยังไม่สามารถพิสูจน์ได้อย่างชัดเจนว่า สารเคมีต่าง ๆ ที่เราใช้ในชีวิตประจำวันไปขัดขวางการทำงานของต่อมไร้ท่อ แต่เราก็ไม่สามารถปฏิเสธว่าสารเคมีส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกาย
มีรายงานด้วยว่า ทุกวันนี้มีสารเคมีราว ๆ 80,000 ชนิด ที่ถูกนำมาใช้กับผลิตภัณฑ์ที่เราใช้กับอยู่ในชีวิตประจำวัน และสารเคมีประมาณ 1,300 ชนิด ก็ถูกพิจารณาว่าขัดขวางการทำงานของต่อมไร้ท่อ และสารเคมี 12 ชนิดต่อไปนี้ นับว่าเลวร้ายมากที่สุด ซึ่งเราควรจะต้องหลีกเลี่ยง
1.Bisphenol A หรือ BPAเป็นสารที่พบในบรรจุภัณฑ์พลาสติก ในปี 1930 มีการใช้เพื่อสังเคราะห์เอสโตรเจนให้กับผู้หญิง ดังนั้นแน่นอนว่า สารเคมีดังกล่าวมีผลต่อฮอร์โมน มีการศึกษาพบว่า มันทำหน้าที่เหมือนเอสโตรเจน ทำให้การผลิตเสปิร์มของผู้ชายลดลง ทำให้เด็กหญิงแตกวัยสาวเร็วกว่ากำหนด และยังส่งผลกระทบต่อภาวะการเจริญภัณฑ์ของทั้งชายและหญิง ในสัตว์ก็มีการศึกษาพบว่า สารเคมีดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องกับการแท้งลูก นอกจากนั้น สาร BPA นี้ ยังรบกวนระบบการเผาผลาญอาหารและมีส่วนเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจ โรคอ้วน และโรคเบาหวาน เราพบสาร BPA ในอาหารกระป๋อง ผลิตภัณฑ์พลาสติก สารเคลือบใบเสร็จ ซึ่งเราสามารถหลีกเลี่ยงได้ด้วยการลดการรับประทานอาหารกระป๋อง เลือกหาอาหารสดมาทำรับประทานเอง หลีกเลี่ยงการใช้ขวดหรือภาชนะพลาสติก และหากไม่จำเป็นก็ไม่ต้องรับใบเสร็จ เมื่อเวลาช้อปปิ้ง
2.Dioxins หรือไดอ๊อกซิน เป็นสารประกอบทางเคมีที่เป็นที่ทราบกันดีว่าเป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็ง และยังเป็นสารเคมี ที่มีผลกระทบต่อฮอร์โมน ลดภาวะการเจริญพันธุ์ ทำให้เกิดโรคเบาหวาน โรคเยื่อบุโพรงมดลูก มีปัญหาระบบภูมิคุ้มกัน ลดระดับฮอร์โมนเทสทอสเทอร์โรน ก่อให้เกิดการแท้ง ลดปริมาณและคุณภาพของฮอร์โมน สารเคมีนี้เกิดจากการเผาขยะในปริมาณมาก และปนเข้าไปอยู่ในกระดาษ เยื่อไม้ อากาศ และน้ำ จากนั้นก็ไปก่อตัวอยู่นำไขมันของสัตว์ ซึ่งเป็นอาหารของเรา การที่จะลดปริมาณการรับสารพิษนี้ก็คือ การเลือกรับประทานอาหารที่มีไขมัน และนมเนยให้น้อยลง
3.Atrazine หรืออาทราซิน สารชนิดนี้ เคยมีการวิจัยพบว่ามีผลกระทบต่อฮอร์โมนของปลาและกบ โดยทำให้ปลา และกบเพศผู้ มีความเป็นเพศเมีย ส่วนการวิจัยในมนุษย์พบว่าสารดังกล่าว ไปเพิ่มการทำงานของยีนที่เกี่ยวกับการเจริญพันธุ์ สารชนิดนี้นำมาใช้กันมากในการกำจัดศัตรูพืช โดยมากจะนำมาใช้กับข้าวโพด วิธีการหลีกเลี่ยงสารพวกนี้ก็คือ การเลือกบริโภคผัก ผลไม้ จากฟาร์มออร์แกนิค และลดปริมาณการรับประทานเนื้อ เพราะสารดังกล่าวปนเปื้อนอยู่ในข้าวโพด และข้าวโพดก็เป็นอาหารหลัก ๆ ที่ใช้ในการเลี้ยงสัตว์
4.Phthalates หรือพาทาเล็ท สารนี้เคยมีการนำมาศึกษา และพบว่า เด็กชายที่เกิดจากมารดาที่มีระดับสารพาทาเล็ทมาก มีความผิดปกติที่อวัยวะเพศ สารเคมีดังกล่าวไปรบกวนฮอร์โมนเทสทอสเทอโรน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำให้มีการพัฒนาของหน้าอก นอกจากนี้ ยังพบอีกว่าผู้หญิงที่เป็นมะเร็งเต้านม ก็มีระดับสารชนิดนี้สูงกว่าหญิงที่ไม่เป็นมะเร็ง สารพาทาเล็ท เป็นสารที่เราพบได้มากมายในผลิตภัณฑ์ที่เราใช้ ทั้งพื้นบ้าน ม่านห้องน้ำ หนังสังเคราะห์ และผลิตภัณฑ์พวก PVC ไวนิล สารพาทาเล็ท ทำให้พลาสติกมีความยืดหยุ่น นอกจากนั้น ยังเป็นสารที่นำไปใช้ในผลิตภัณฑ์จำพวกสี เช่น ยาทาเล็บ สี น้ำยาเคลือบเฟอร์นิเจอร์ รวมทั้งยังพบสารพวกนี้ ในบรรจุภัณฑ์อาหารเป็นจำนวนมากด้วย วิธีการหลีกเลี่ยงก็คือการไม่ใช้ผลิตภัณฑ์ไวนิล และเก็บอาหารไว้ในภาชนะแก้ว หรือสแตนเลสสตีล
5.Perchlorate หรือพอร์เชอเรต เป็นสารที่รบกวนการทำงานของไทรอยด์ ส่งผลต่อฮอร์โมน และการเผาผลาญอาหารของร่างกาย สารเคมีชนิดนี้ เป็นส่วนประกอบของเชื้อเพลิงจรวด ขีปนาวุธ ดอกไม้ไฟ รวมทั้งแบตเตอรี่ สารชนิดนี้ จะปนเปื้อนอยู่ในดิน และน้ำใต้ดิน และไม่มีใครทราบว่า เมื่อไหร่ที่สารเคมีนี้จะสลายตัวไป สารนี้สามารถปนเปื้อนในอาหาร เช่นไข่ นมเนย ผลไม้ และผัก การหลีกเลี่ยงก็คือ การเลือกหาอาหารจากแหล่งที่ปลอดภัยมารับประทาน
6.Flame retardants หรือสารหน่วงการติดไฟ เป็นสารเคมีที่ส่งผลกระทบต่อไทรอยด์ และการเจริญพันธุ์ของเพศหญิง และเนื่องจากไทรอยด์นั้น มีผลต่อสมอง ดังนั้น สารชนิดนี้ จึงมีผลกระทบต่อระดับไอคิวของเด็กด้วย สารชนิดนี้ พบได้ในเฟอร์นิเจอร์ พรม รวมทั้งผลิตภัณฑ์ที่นำมาใช้กับเด็ก เช่นหมอนให้นม ดังนั้นอาจจะกล่าวได้ว่า ผลิตภัณฑ์หลาย ๆ อย่างในบ้าน ที่ทำงาน และในรถ มีสารชนิดนี้เป็นส่วนประกอบ อีกทั้งยังพบว่า สารดังกล่าวนี้มีอยู่ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ อย่างคอมพิวเตอร์ ทีวี โทรศัพท์มือถือ และเครื่องเล่นวีดีโอเกม วิธีการหลีกเลี่ยงก็คือ ดูดฝุ่น ทำความสะอาดบ่อย ๆ จริง ๆ แล้วเราแทบไม่สามารถหลีกเลี่ยงสารนี้ได้ จึงควรพยายามลดการแพร่กระจายของมัน เพราะสารนี้ จะออกมาจากฝุ่นในเฟอร์นิเจอร์ พรมปูพื้นรถ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีการชำรุด
7.Lead หรือสารตะกั่ว เป็นเวลานานแล้วที่สารตะกั่วนั้นส่งผลต่อสุขภาพของเรา และทุกวันนี้ ก็มีการวิจัยพบว่าอันตรายจากสารตะกั่วนั้นเพิ่มมากขึ้น และส่งผลกระทบต่อฮอร์โมน และความเครียดของคนเราด้วย สารตะกั่วนั้นเป็นโลหะพิษที่ปนเปื้อนอยู่ทั้งในน้ำดื่มที่ไหลผ่านท่อน้ำเก่า และน้ำในแทงก์น้ำ แม้จะผ่านการกรองแล้วก็ตาม การหลีกเลี่ยงนั้น ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าควรเลือกรับประทานอาหารที่มีคุณค่า ซึ่งดูดซับสารตะกั่วไว้ในปริมาณน้อย และบ้านเรือนที่อยู่อาศัยนั้น หากเป็นบ้านเก่า ก็ควรได้รับการปรับปรุงอุปกรณ์เครื่องใช้ เพื่อการอุปโภคและบริโภค
8.Arsenic หรือสารหนู เป็นที่ทราบกันดีว่า เป็นสารก่อมะเร็ง ทำให้เป็นมะเร็งผิวหนัง มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งปอด และก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้อีกหลายอย่าง รวมทั้งทำให้เกิดปัญหากับต่อมไร้ท่อ รบกวนการทำงานของเอสโตรเจร โปรเจสเตอโรน รวมทั้งฮอร์โมนเกี่ยวกับระบบการเผาผลาญอาหาร และระบบภูมิคุ้มกันโรค สารหนูนี้ มีอยู่ทั้งในน้ำและอาหาร ทั้งเนื้อสัตว์ และผลไม้อย่างแอปเปิล และองุ่น ที่อยู่ในฟาร์มซึ่งไม่มีคุณภาพ ดังนั้น แนวทางในการหลีกเลี่ยงก็คือ กรองน้ำผ่านระบบการกรองที่ได้มาตราฐาน เลือกรับประทานอาหารจากแหล่งผลิตที่มีคุณภาพ หรืออาหารออแกนนิค
9.Mercury หรือสารปรอท เป็นสารพิษที่ส่งผลกระทบต่อไอคิวของเด็กเช่นกัน อีกทั้งยังส่งผลต่อฮอร์โมน และวงจรการมีประจำเดือนและการตกไข่ของผู้หญิง สารปรอทนี้ ยังทำลายเซลล์ที่ผลิตอินซูลิน ซึ่งมีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดด้วย สารปรอทนี้พบในอาหารทะเล เพราะสามารถปนเปื้อนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่อยู่ใกล้กับแหล่งอุตสาหกรรม โดยเฉพาะพวกโรงงานถ่านหิน เราสามารถหลีกเลี่ยงสารปรอทได้ด้วยการเลือกรับประทานอาหารทะเล ที่มีปริมาณสารปรอทต่ำเช่นปลาแซลมอนอลาสก้า ปลาเทราท์ ปลาซาดีน และแอนโชวี่ ซึ่งโดยทั่ว ๆ ไปแล้วปลาเล็ก ๆ จะมีการปนเปื้อนน้อย
10.Perfluorinated chemicals สารเปอร์ฟลูออโรเนท หรือ PFCs สารนี้มีการศึกษาพบว่ามีผลกระทบต่อการทำงานของไทรอยด์ และมีความเกี่ยวข้องกับการเป็นไฮเปอร์ไทรอยด์ อีกทั้งยังมีผลต่อภาวะการเจริญพันธุ์ของทั้งชายและหญิง รวมทั้งการผลิตไข่ของเพศหญิง เราพบสารชนิดนี้ในหม้อ กระทะ ที่มีการเคลือบสารกันการเกาะติด รวมทั้งยังมีอยู่ในเสื้อผ้าพวก ผ้าหุ้มเบาะ พรม กระเป๋าเป้ และพวกผลิตภัณฑ์ป้องกันน้ำ ป้องกันคราบสกปรกต่าง ๆ รวมทั้งยังพบในกล่องพิซซ่า ห่ออาหาร ถุงป๊อบคอร์นแบบไมโครเวฟ รวมทั้งถุงอาหารสัตว์ด้วย เราสามารถหลีกเลี่ยงสารดังกล่าวได้ด้วยการไม่ใช้ผลิตภัณฑ์พวก กอร์เท็ค ป้องกันคราบ และเทฟล่อน เพราะสิ่งเหล่านี้ มีการผสมสาร PFCs เข้าไปในการผลิต
11.Organophosphate pesticides หรือยากำจัดแมลงพวกฟอสเฟต สารพวกนี้ทำให้ระดับเทสทอสเทอโรน และฮอร์โมนเพศต่ำลง หากได้รับสารนี้ระหว่างการตั้งครรภ์ ก็มีความเสี่ยงต่อการแท้งลูก และมีผลต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์ เราพบว่ามีสารพวกนี้ในยาฆ่าแมลง ดังนั้นการหลีกเลี่ยงก็คือ การเลือกอาหารจากฟาร์มออร์แกนิค
12.Glycol ethers หรือไกลคอล อีเทอร์ มีผลกระทบต่อฮอร์โมน ทำให้สเปิร์มของเพศชายด้อยคุณภาพ เคลื่อนตัวช้าสารพวกนี้ใช้กันมากมายในวงการอุตสาหกรรม รวมทั้งพวกบริการซักแห้ง และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด วิธีการหลีกเลี่ยงก็คือ ผ้าที่มีความบอบบาง ให้ซักด้วยมือแทนการซักแห้ง และทำผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่เป็นมิตรต่อสภาพแวดล้อมใช้เองที่บ้าน

อันตราย! ผักไทยพบสารเคมีตกค้างเกือบ 100% แทบทุกชนิด

อันตราย! ผักไทยพบสารเคมีตกค้าง
เกือบ 100% แทบทุกชนิด

ไม่ว่าจะช่วงเทศกาลกินเจ หรือช่วงปกติ การทานผักเป็นเรื่องที่เราควรทำเป็นประจำ เพื่อสุขภาพที่ดี แต่ข่าวร้ายคือ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล (รพ.ศิริราช) ตรวจพบสารเคมีตกค้างจากยาฆ่าแมลงในผักสดของไทยหลายชนิด ที่เกินค่ามาตรฐานไปมาก กล่าวคืออยู่ที่ 85-100% เลยทีเดียว นับว่าเป็นตัวเลขที่น่ากลัว จนต่างประเทศรับไม่ได้อย่างแน่นอน
 ถูก-แพง ก็พบสารเคมีเหมือนกัน
นอกจากนี้ รศ. ดร. สมพนธ์ วรรณวิมลรักษ์ จากศูนย์วิจัยพัฒนานวัตกรรม คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ดำรงตำแหน่งหัวหน้าโครงการวิจัยผัก และผลไม้ที่ปลอดภัยเพื่อครัวโลก ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกด้วยว่า ราคาของผักไม่ได้การันตีว่าจะไม่พบสารเคมี หรือพบสารเคมีมากกว่าหรือน้อยกว่าแต่อย่างใด จากการสุ่มตรวจหาสารเคมีตกค้างในผักผลไม้ทั้งจากตลาดสด และในซุปเปอร์มาร์เก็ตขึ้นหาก ทั้งจากแหล่งผลิตที่เขียนข้างบรรจุภัณฑ์ชัดเจนว่า “ผักปลอดสารพิษ” “ผักอินทรีย์” สุดท้ายก็เจอสารเคมีเพียบ นั่นหมายความว่าเราจ่ายเงินมากกว่าหลายเท่า แต่ได้ผักผลไม้ที่มีสารเคมีตกค้างมากเท่าๆ กับผักผลไม้ในตลาดสด
 เคล็ดลับการล้างผักผลไม้ เพื่อลดสารพิษ ยาฆ่าแมลง สารเคมีตกค้างต่างๆ
1. ล้างผักผลไม้ด้วยด่างทับทิม ช่วยลดปริมาณสารตกค้างในผักผลไม้ได้ 20-30%
2. ล้างด้วยน้ำผสมน้ำส้มสายชู ช่วยลดปริมาณสารตกค้างในผักผลไม้ได้ 30-40%
3. ล้างด้วยน้ำผสมผงฟู หรือเบกกิ้งโซดา ช่วยลดปริมาณสารตกค้างในผักผลไม้ได้ 30-40%
4. ล้างผักด้วยวิธีน้ำไหล โดยแยกใบผัก กลีบผักออกมา แช่ในน้ำ 10 นาที จากนั้นหยิบใบผักขึ้นมา เปิดก็อกให้น้ำไหลผ่านผักและผลไม้ทีละใบ ทีละก้าน ถูๆ ให้สะอาดราว 2 นาที วิธีนี้ช่วยลดปริมาณสารตกค้างในผักผลไม้ได้ 60-70%
 มาถึงตรงนี้ ในฐานะผู้บริโภคก็ควรจะดูแลตัวเองให้ปลอดภัยจากสารเคมีตกค้าง ด้วยการใส่ใจล้างผัก และผลไม้อย่างถูกวิธี แต่ในทางกลับกัน การพบสารเคมีตกค้างในผัก และผลไม้เกินค่ามาตรฐานทั่วประเทศไทย ไม่เว้นจากแหล่งผลิตที่แปะป้ายไว้ว่าผักปลอดสารพิษ ก็ดูจะเป็นเรื่องที่ภาครัฐควรเข้ามาตรวจสอบ แก้ไข และพัฒนาให้ดีขึ้น ให้ถูกต้อง เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชากรในประเทศค่ะ
 ขอบคุณภาพ และข้อมูลจาก คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล Mahidol Channel

ระทึก! สารเคมีรั่วกรุงเทพกรีฑา-เร่งตรวจสอบ

ระทึก! สารเคมีรั่วกรุงเทพกรีฑา-เร่งตรวจสอบ
ระทึก! สารเคมีรั่วกรุงเทพกรีฑา-เร่งตรวจสอบ
เกิดเหตุระทึก! สารเคมีไม่ทราบชนิด รั่วไหล บริเวณ ซอยกรุงเทพกรีฑา 35 เจ้าหน้าเร่งตรวจสอบ
เมื่อสักครู่ที่ผ่านมา ได้รับแจ้งเหตุพบสารเคมีถูกทิ้งลงแหล่งน้ำ บริเวณหน้า บริษัท คอมฟอร์ม จำกัด ตรงข้ามซอยกรุงเทพกรีฑา 35 ถนนกรุงเทพกรีฑา แขวงสะพานสูง เขตสะพานสูง เบื้องต้น เจ้าหน้าที่สำนักอนามัย เจ้าหน้าที่เขตสะพานสูง ดับเพลิงหัวหมาก และห้วยขวางรุดที่เกิดเหตุ พร้อมนำเครื่องตรวจวัดสารเคมีเพื่อตรวจสอบ
พบเป็นสารเคมีรั่วไหลออกมากจากบริษัท คอมฟอร์ม จำกัด ลงไปที่บริเวณบ่อระบายน้ำด้านหน้าบริษัทจำนวน 3 บ่อ ทำให้น้ำในบ่อที่ 1 และบ่อที่ 2 ลักษณะของน้ำเป็นสีชมพู และบ่อที่ 3 ลักษณะเป็นสีดำมีคราบน้ำมันปะปน
โดยขณะนี้เจ้าหน้าที่อยู่ระหว่างตรวจสอบชนิดของสารเคมีดังกล่าว และป้องกันสารเคมีรั่วไหลลงสู่คลองสาธารณะ ทั้งนี้ ได้มีการกั้นบริเวณโดยรอบเพื่อป้องกันเหตุและห้ามประชาชนเข้าใกล้ในพื้นที่
อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบพบเป็นสาร Kerosene ลักษณะเป็นของเหลวไวไฟ มีคุณสมบัติกัดกร่อน pH5 กระจายตัวในท่ออระบายน้ำหน้าโรงงานประมาณ 200 เมตร
ในเบื้องต้นเจ้าหน้าที่ใช้กระดาษซับสารที่อยู่บริเวณผิวหน้าและตักใส่ถุง และใช้สารสลายคราบไขมันฉีดพ่น เพื่อกำจัดคราบสารเคมี
@ขอบคุณภาพจากเจ้าหน้าที่ทหารจาก ชป.พท.ป.พัน.9 #ศูนย์วิทยุพระราม 199

อ.เจษฎาเตือน! สารเคมีจากเคสมือถือกลิตเตอร์อาจเสี่ยงผิวหนังไหม้-พุพอง

อ.เจษฎาเตือน! สารเคมีจากเคสมือถือกลิตเตอร์
อาจเสี่ยงผิวหนังไหม้-พุพอง
อ.เจษฎาเตือน! สารเคมีจากเคสมือถือกลิตเตอร์อาจเสี่ยงผิวหนังไหม้-พุพองเคส
โทรศัพท์มือถือชนิดที่สามารถใส่ของเหลว ทั้งแบบมีสีและไม่มีสี ผสมกลิตเตอร์ หรือกากเพชรวิววับ เป็นที่นิยมในหมู่คนไทย และชาวต่างชาติมาสักระยะหนึ่งแล้ว แต่เห็นทีจะไม่ปลอดภัย 100% เมื่อมีรายงานข่าวจากต่างประเทศว่า เด็กหญิง 9 ขวบ เกิดเหตุของเหลวจากเคสโทรศัพท์มือถือรั่วไหล สัมผัสบนผิวหนังขณะนอนหลับทับเคส ตื่นเช้ามาพบรอยไหม้ และพุพอง
นอกจากนี้ ผศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยังเตือนว่าหากผิวหนังสัมผัสของเหลวภายในเคสมือถือ ให้รีบล้างออกด้วยน้ำเปล่ามากๆ เพื่อป้องกันผิวหนังพุพองจากสารเคมี
"ระวังอันตรายจากสารเคมี ในเคสมือถือ กลิตเตอร์
ปรกติผมไม่ค่อยชอบโพสต์แบบเตือนภัยอันตรายต่างๆ เพราะเดี๋ยวนี้กลัวว่าพลังของโซเชียลมันจะทำให้สังคมแตกตื่นเกินไป แต่เรื่องนี้เห็นว่ายังไม่ค่อยเป็นที่ตระหนักกัน จึงขอยกขึ้นมาหน่อยเถอะ
ทางรายการ "ทุกข์ชาวบ้านสุดสัปดาห์" ช่อง TNN24 ได้มาขอสัมภาษณ์จากกรณีข่าวที่มีเด็กหญิงวัยแค่ 9 ปี นอนทับเคสโทรศัพท์มือแบบที่มีของเหลวใสใส่ตัวกลิตเตอร์สะท้อนแสงวาวๆ อยู่ด้านหลัง (http://www.mirror.co.uk/…/uk-news/girl-9-left-iphone-shaped…) แล้วตื่นเช้ามา เกิดเป็นรอยแผลไหม้สารเคมีพุพอง ... เรื่องนี้จริงเท็จเป็นเช่นไร
จากการเช็คกูเกิ้ล แม้ว่าจะยังไม่เคยมีรายงานอันตรายลักษณะนี้ในไทย แต่ในต่างประเทศมีคนเจอแล้วหลายราย ทั้งในอังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ฯลฯ จนเชื่อได้ว่าน่าจะเรื่องจริง ที่สำคัญที่ ไม่มีการเขียนเตือนไว้เลยที่กล่องสินค้า ว่าให้ระวังอันตรายจากสารเคมี
แม้ว่าจะไม่ทราบว่าสารเคมีข้างในนั้นคืออะไร (สงสัยต้องขอให้ อ.อ๊อด Weerachai Phutdhawong ช่วยตรวจดู) แต่เท่าที่ลองซื้อมาจากร้านค้าทั่วไป แล้วเจาะเอามาทดสอบง่ายๆ พบว่า ของเหลวในนั้น มันมีกลิ่นฉุนรุนแรง นิ้วแตะๆ ดูแล้วรู้สึกร้อน ลองเอาไปเทราดเนื้อไก่ไว้ พบว่าเนื้อไก่เปื่อยยุ่ยใน 10 นาที (เสียดายว่าวัดพีเอชด้วยกระดาษอินดิเคเตอร์ ไม่พบว่าเป็นกรดหรือด่างเข้มข้น) จึงน่าจะฟันธงได้ว่า มันเป็นสารเคมีที่อาจเป็นอันตรายได้จริงๆ ถ้ารั่วซึมออกมา
ดังนั้น การใช้เคสมือถือกลิตเตอร์แบบนี้จึงควรระวังเป็นอย่างมาก อย่าไปทำให้มันแตกรั่วซึม ถ้าสัมผัสร่างกาย ให้ล้างออกด้วยน้ำเปล่าเยอะๆๆ
ที่ขอเรียกร้องอีกอย่างคือ ผู้ประกอบการเอง ก็ควรจะเขียนคำเตือนไว้ให้ชัดเจนบนกล่องสินค้าด้วย (เท่าที่เช็คกัน แม้แต่ยี่ห้อแพงๆ ก็ไม่เขียนคำเตือน)”

สารเคมีรั่วในสระว่ายน้ำ หามเด็กส่ง รพ. นับสิบราย

สารเคมีรั่วในสระว่ายน้ำ หามเด็กส่ง รพ. นับสิบราย
สารเคมีรั่วในสระว่ายน้ำ หามเด็กส่ง รพ. นับสิบราย

เหตุดังกล่าวเกิดขึ้น เมื่อเวลา 20.00 น. ของวันที่ 13 มี.ค. เจ้าหน้าที่หน่วยกู้ชีพต้องระดมกำลังมาช่วยเหลือเด็กนักเรียนกว่า 20 คน ที่สำลักกลิ่นเหม็นของสารเคมีที่ใช้ในการทำความสะอาดสระว่ายน้ำ ภายในสนามกีฬาองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น หลังสารเคมีที่ผสมเตรียมไว้เกิดปฏิกิริยารั่วออกมา ขณะที่เด็กกำลังเรียนว่ายน้ำภาคฤดูร้อน  โดยเจ้าที่กู้ภัยนำเด็กที่สูดกลิ่นเหม็นของสารเคมีนำส่งโรงพยาบาลขอนแก่น จำนวน 9 ราย ส่วนที่เหลือผู้ปกครองได้มารับตัวนำกลับบ้าน
สาเหตุเบื้องต้นเกิดจากถังผสมสารเคมีสำหรับใช้ในการตกตะกอน ที่เจ้าหน้าที่ดูแลสระว่ายน้ำผสมไว้สารเคมีสำหรับให้น้ำตกตะกอน ประกอบด้วย โซดาแอช จุนสี สารส้ม ได้ทำปฏิกิริยาขึ้น แล้วเกิดควันพุ่งออกจากถังผสมสารเคมี จึงทำให้กลิ่นฟุ้งกระจายไปทั่วสระว่ายน้ำที่ขณะนั้นมีเด็กกำลังเรียนว่ายน้ำ
ทางเจ้าหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย เขต6 ขอนแก่น ได้นำเครื่องดูดกลิ่นออกจากตัวอาคาร เพื่อเตรียมเข้าไปดูจุดห้องผสมสารเคมี โดยใช้เวลาประมาณ 20 นาที จึงสามารถไล่กลิ่นเหม็นคลอรีนออกจากพื้นที่สระว่ายได้ทั้งหมด
ตำรวจภูธรเมืองขอนแก่น เข้าตรวจสอบสระว่ายน้ำ พร้อมกับสอบปากคำคนดูแลวระว่ายน้ำเพิ่มเติม  พร้อมเข้าไปตรวจสอบภายในสระว่ายน้ำ พบว่าน้ำมีสีขุ่นและมีฟองอากาศ
จากนั้นได้นำขวดน้ำเก็บน้ำภายในสระไว้ ก่อนที่จะเดินทางไปยังโรงพยาบาลขอนแก่น โรงพยาบาลราชพฤกษ์ และโรงพยาบาลขอนแก่นราม เพื่อตรวจสอบรายชื่อผู้ที่เข้ารักษาตัวซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็กอายุระหว่าง 5-10 ปี  เบื้องต้นทางแพทย์ได้อนุญาตให้ผู้ที่เข้ารักษาตัวทั้ง 9 คน เดินทางกลับบ้านเป็นที่เรียบร้อย
ขณะที่ทางสระว่ายน้ำได้ประกาศหยุดให้บริการเป็นเวลา 2 วัน คือวันที่ 14-15 มีนาคม 2559 และจะเปิดให้บริการอีกครั้งในวันพุธที่ 16 มีนาคม 2559
และในเวลา 09.00 น. นายพงษ์ศักดิ์  ตั้งวานิชพงษ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น จะเดินทางมาตรวจสอบร่วมกับทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ถึงสาเหตที่เกิดการรั่วไหลของสารเคมีในครั้งนี้

ข้อควรรู้ก่อนทาลิปสติก อันตรายแฝงจากสารเคมีที่พร้อมส่งผลเสียต่อสุขภาพ

ข้อควรรู้ก่อนทาลิปสติก อันตรายแฝงจากสารเคมี
ที่พร้อมส่งผลเสียต่อสุขภาพ


ลิปสติกที่จะขอกล่าวถึงสำหรับสาวๆ ในที่นี้คือลิปสติกที่ถูกเติมแต่งด้วยสีสันอันฉูดฉาด เน้นเติมเสน่ห์เรียวปากให้ดูดี ในปัจจุบันที่เครื่องสำอางชนิดนี้ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เป็นหนึ่งในตัวช่วยเสริมความมั่นใจให้สาวๆ ได้รู้สึกถึงความโดดเด่นของใบหน้า ทว่าในความงามนี้กลับกลายเป็นดาบสองคม เพราะบางยี่ห้อปนเปื้อนอยู่ด้วยสารเคมีอันตรายที่เรามองไม่เห็น แถมสารเคมีที่สัมผัสโดนริมฝีปากอันบอบบาง  หรือบางครั้งเผลอกลืนเข้าไปสะสมในร่างกายแบบไม่รู้ตัว อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาวตามมาได้
ยิ่งสีสด ติดทนนาน ยิ่งเสี่ยงอันตราย!
ในยุคนี้เราจะเห็นว่ามีลิปสติกสีสันสดใสผลิตออกมามากขึ้น ยิ่งสีสดแค่ไหน ก็ยิ่งได้รับความนิยมมากขึ้นเท่านั้น แถมบางยี่ห้อยังเคลมอีกด้วยว่าเป็นลิปสติกที่สามารถติดทนอยู่กับริมฝีปากได้นานตลอดวันไม่มีหลุดในการทาเพียงแค่ครั้งเดียว หารู้ไม่ว่ามันเต็มไปด้วยสารเคมีที่ไม่ควรสัมผัสถูกผิวหนัง ไม่ว่าจะเป็น สารกันบูดที่มักผสมอยู่ในเครื่องสำอางทั่วๆ ไป, พาราเบน, เมธอะคริเลท, สารตะกั่วปนเปื้อน และไตรโครซาน ฯลฯ
สารเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบฮอร์โมน เข้าไปรบกวนการทำงานของสมอง กล้ามเนื้อ และอัตราการเต้นของหัวใจ นอกจากนี้จากผลการวิจัยยังแสดงให้เห็นถึงความน่าวิตกว่าสารเคมีมากมายจากลิปสติกที่เข้าไปสะสมในร่างกาย จะเป็นตัวการทำให้เชื้อโรคดื้อยาปฏิชีวนะตามมา ส่งผลให้การรักษาอาการยุ่งยากและรุนแรงมากขึ้น
เมธอะคริเลท ส่วนผสมต้องห้ามในลิปสติก
เมธอะคริเลทเป็นสารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมพลาสติก แต่มันกลับถูกนำมาใช้เป็นส่วนผสมของลิปสติกที่มีสีฉูดฉาด ทำให้สีหลุดลอกได้ยาก สารชนิดนี้เมื่อร่างกายได้รับเข้าไปแล้ว จะส่งผลให้เกิดอาการระคายเคืองต่อผิวหนัง ในระยะแรกจะแสดงอาการมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับความถี่ในการทาของสาวๆ แต่ละคน ทั้งนี้อาการระคายเคืองที่เกิดขึ้นสามารถพัฒนากลายเป็นโรคภูมิแพ้ตัวเองที่เรารู้จักกันว่าโรค SLE ได้อีกด้วย เป็นตัวการส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายแปรปรวน ไวต่อสิ่งแปลกปลอมมากเกินปกติ เกิดภาวะอักเสบตามผิวหนัง หากไม่รีบทำการรักษาจะยิ่งลุกลามไปยังส่วนอื่นๆ ของอวัยวะได้
ทางที่ดีสาวๆ ควรหลีกเลี่ยงการทาลิปสติกสีเข้ม และหันมาทาลิปมันที่ช่วยบำรุงริมฝีปากให้ชุ่มชื่นเท่านั้นก็เพียงพอแล้ว เพื่อจะได้ลดความเสี่ยงจากสารเคมีอันตรายที่ปนเปื้อนมาพร้อมกับเม็ดสี หรืออาจจะเลือกเป็นลิปสติกสีอ่อนที่มีคุณภาพมาใช้ทดแทน เพียงเท่านี้ก็ทำให้เรียวปากของสาวๆ ดูสวยอวบอิ่มได้ไม่แพ้กันอย่างแน่นอนค่ะ

สารเคลือบชนิดใหม่สำหรับโลหะเพื่อลดการสึกหรอ

สารเคลือบชนิดใหม่สำหรับโลหะเพื่อลดการสึกหรอ
             เครื่องจักรในรถยนต์ต้องการน้ำมันเพื่อลดแรงเสียดทานระหว่างเครื่องจักรที่มีการเคลื่อนไหว สารหล่อลื่นนี้ทำให้ส่วนของเครื่องจักรนั้นเย็นลงและช่วยลดการสึกหรอของเครื่องจักรได้ ในตอนนี้ นักวิจัยได้พัฒนาวิธีการเคลือบแบบใหม่ที่จะนำมาใช้กับชิ้นส่วนเครื่องจักรในรถยนต์ก่อนที่มันจะออกจากโรงงานไป ซึ่งสิ่งนี้ไม่ใช่สารเคลือบปกติ มันเป็นพื้นผิวที่จะเข้าเชื่อมกับชิ้นส่วนของรถยนต์อย่างถาวร โดยที่มันจะทำปฏิกิริยากับน้ำมันเครื่องยนต์เพื่อทำการสร้างฟิล์มคาร์บอน โดยที่ฟิล์มนี้จะช่วยลดแรงเสียดทานได้ดีกว่าน้ำมันหล่อลื่นเพียงอย่างเดียว
“สารเคลือบชนิดใหม่นี้อาจจะลดการเปลี่ยนน้ำมันเครื่องบ่อยๆได้” นักวิทยาศาสตร์กล่าว มันยังสามารถช่วยลดความต้องการสารเติมแต่งที่เป็นโลหะในน้ำมันเครื่องยนต์อีกด้วย จนถึงทุกวันนี้ สารเติมแต่งเหล่านี้ทำให้น้ำมันเครื่องยนต์นั้นยากต่อการรีไซเคิล
“ในเครื่องยนต์ที่กำลังทำงานซึ่งมีความร้อนและความดันสูง สารเติมแต่งโลหะเหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็น พวกมันจะทำการเชื่อมตัวเองกับชิ้นส่วนรถยนต์และสร้างพื้นผิวป้องกันและมีความลื่นขึ้นมา ชั้นผิวนี้จะช่วยลดแรงเสียดทานและการสึกหรอของเครื่องยนต์ภายใน” Ali Erdemir กล่าว เขาเป็นนักวัสดุศาสตร์จาก Argonne National Laboratory ใน Illinois
สารเคลือบชนิดใหม่สามารถที่จะเชื่อมบนชิ้นส่วนของรถยนต์ได้เลย โดยที่ชั้นผิวใหม่ที่เกิดขึ้นจะเป็นฟิล์มคาร์บอนที่รักษาตัวเองได้ และช่วยลดแรงเสียดทานและการสึกหรอของชิ้นส่วนเครื่องยนต์ได้
การที่ไม่มีสารเติมแต่งโลหะซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมนั้นเป็นแรงบันดาลใจให้กับ Erdemir และทีมวิจัยของเขาในการพัฒนานวัตกรรมนี้ นักวิจัยได้สร้างสารเคลือบโลหะไนไตรด์ที่ประกอบไปด้วยส่วนประกอบที่ทำปฏิกิริยากับน้ำมันเครื่องยนต์และไม่ต้องมีการใส่สารเติมแต่งลงไปในน้ำมันเครื่องได้
ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นกับสารเคลือบนั้นจะกระตุ้นให้เกิดการสร้างผิวฟิล์มบนชิ้นส่วนที่มีการเคลื่อนไหว ฟิล์มนี้จะมีความถาวรน้อยกว่าฟิล์มที่เกิดจากน้ำมันเครื่องที่มีสารเติมแต่ง แต่ฟิล์มชนิดใหม่นี้มีความสามารถในการรักษาตัวเองได้ ดังนั้นเมื่อท้ายที่สุดมันถูกทำลายไป ส่วนประกอบโลหะในสารเคลือบจะทำการสลายตัวน้ำมันเพื่อทำการสร้างคาร์บอนฟิล์มเพิ่มอีก
ทีมวิจัย Edemir ได้อธิบายถึงรายละเอียดของสารเคลือบชนิดใหม่นี้ในวารสารทางวิชาการระดับนานาชาติ Nature เมื่อวันที่ 4 ของเดือนสิงหาคม
น้ำมันนั้นทำมาจากสารประกอบไฮโดรคาร์บอน แต่ละอะตอมคาร์บอนมีไฮโดรเจนอะตอม 2 อะตอมที่ติดอยู่ ยกเว้นคาร์บอนตัวสุดท้ายของปลายสายโซ่ คาร์บอนอะตอมตัวสุดท้ายของปลายสายโซ่จะมีอะตอมของไฮโดรเจนเพิ่มมาอีกหนึ่งอะตอมเป็นสามอะตอมสารประกอบโลหะในสารเคลือบชนิดใหม่ช่วยตัดไฮโดรเจนอะตอมออกจากน้ำมัน หลังจากนั้นมันจะทำการแยกสายโซ่คาร์บอนที่เหลือให้มีขนาดเล็กลง สายโซ่ที่ถูกตัดออกมานั้นสามารถสร้างฟิล์มหล่อลื่นขึ้นระหว่างเครื่องจักรที่มีการเคลื่อนไหวอยู่
กลุ่มวิจัยที่ Argonne ได้ออกแบบและทดสอบสารเคลือบสองเวอร์ชั่น ในสูตรที่หนึ่ง โลหะที่ใช้ในการตัดน้ำมันคือทองแดง ในอีกสูตรหนึ่งคือ นิกเกิล โลหะทั้งสองทำงานในทิศทางเดียวกัน พวกมันทำหน้าที่เป็นตัวเร่งในการเร่งปฏิกิริยาทางเคมีเพื่อใช้ในการย่อยสลายน้ำมัน อย่างไรก็ตาม พวกมันจะไม่ถูกใช้หมดไปในการเกิดปฏิกิริยาเนื่องจากมันเป็นตัวเร่ง นั่นหมายความว่า ตัวเร่งจะอยู่ตลอดไปและช่วยทำการย่อยสลายน้ำมันอย่างต่อเนื่องเรื่อยๆ
มีหนึ่งคำถามที่เป็นคำถามสำคัญคือ สารเคลือบนั้นสามารถอยู่ได้อย่างยาวนานหรือไม่เมื่อมันอยู่ในสภาวะที่มีความร้อนและแรงดันสูงภายในเครื่องจักรรถยนต์ ในบางครั้งตัวเร่งจะสูญเสียประสิทธิภาพไปตามเวลา และจะเกิดอะไรขึ้นถ้าสารเคลือบนั้นถูกทำลายออกไปจนหมด
แต่หลังจากการทดสอบ กลุ่มวิจัยของ Erdemir ทำให้เชื่อได้ว่าสารเคลือบนั้นสามารถอยู่ได้อย่างยาวนานจริง บางทีอาจจะอยู่ได้เป็นสิบปีหรือมากกว่านั้นกับการขับแบบปกติ สารเคลือบนั้นมีความแข็งแรงมากกว่าเหล็กประมาณ 3-4 เท่า นอกจากนั้น เพราะว่ามันมีการสึกหรอที่น้อยมากหรือไม่มีเลย ดังนั้นสารเคลือบซึ่งมีความบางในระดับไมโครเมตรสามารถที่จะอยู่ได้ยาวนานเป็น 100000 กิโลมเมตรสำหรับการขับแบบทั่วไป
ที่มา:
Journal: A. Erdemir et al. Carbon-based tribofilms from lubricating oils. Nature. Vol. 536, August 4, 2016, p. 67.doi: 10.1038/nature18948.